วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวีดิโอสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     สิงคโปร์จะร่างหลักสูตรโดยนำสัญลักษณ์มาแทนสิ่งที่เรียนรู้ ที่ให้เด็กได้สัมผัสของจริงก่อนจากการนับเลข เช่น ตัวบล็อกนำมาหยิบจับ บวก ลบ คูณ หาร จากนั้นจะให้เด็กวาดภาพตามจำนวน แล้วนำมาสู่การแทนด้วยสัญลักษณ์ เด็กๆก็จะได้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เ็กๆก็จะเกิดความเข้าใจ ตีโจทย์แตก พอเมื่อได้รับการจับต้องได้แล้วจะต้องใช้หลายๆสูตรไม่เช่นนั้นจะทำให้เด็กยึดติด
สรุปวิจัยทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ความมุ่งหมายของการวิจัย 
     เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติ การวงจรลำดับเวลา

วิธีการดำาเนินการวิจัย 
     กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย  กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
2. แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำานวน 18 แผน    
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์     
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด    
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย     
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย  
     ผู้วิจัยดำเนินการปฏิบัติการ 2 วงจรตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาของ
เจมส์ แมคเคอร์แนน  (McKernan.  1996 : 28-30 ) แต่ละวงจรดำเนินการ 8 ขั้นตอน ดังนี้     
1. ขั้นกำหนดปัญหา ระบุปัญหา  คือ  “นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับ  การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่” โดยใช้ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย   
2. ขั้นประเมินความต้องการจำเป็น โดยใช้ประเมินความความต้องการจำเป็นของครูและผู้ปกครอง   
3. กำหนดแนวคิดที่เป็นสมมุติฐาน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก ขั้นตอนการประเมินความต้องการจำเป็น   
4. ขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติการ โดยศึกษาข้อมูลการจัดเรียงลาำดับความสำาคัญของความต้องการ จำาเป็นในขั้นตอนการประเมินความต้องการ จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลสร้างแผนจัดประสบการณ์   
5. ขั้นดำเนินการตามแผนการที่วางไว้ โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์นิทานคณิตศาสตร์ จำนวน  18 แผน แบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์ แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะ ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
6. ขั้นประเมินผลการปฏิบัติการตามแผน โดยใช้ผลแบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์  แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
7. ขั้นสะท้อนผล ทำความเข้าใจ อธิบาย โดยการศึกษาข้อมูลย้อนกลับและตรวจสอบผลการปฏิบัติ การหาข้อสรุป   
8. ขั้นตัดสินใจเพื่อดำเนินการในวงจรลำดับเวลาต่อไป
ผลการวิจัย 

  1. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 1-9 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์  เช่น มังคุดของหนูหน่อย (การนับ), หนอนจอมหิว (การรู้ค่าตัวเลข), ลูกไก่ ตามหาแม่ (การจับคู่) พบว่า   
1.1 ผลจากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้    
   1.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตรป์ระจำแผนการจัดประสบการณนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ แต่เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ในเรื่องการนับและรู้ค่าตัวเลขมากขึ้นจึงทำให้เด็กสามารถทำแบบฝึกทักษะได้ดีขึ้น  
   1.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า ในช่วงแผนการจัดประสบการณ์ที่ 1-2 นักเรียนส่วนใหญ่ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้น เนื่องจากครูผู้สอนมีอาการประหม่าและตื่นเต้นทำให้การจัดประสบการณ์ ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร แต่ครูผู้สอนปรับตัวได้ในแผนการจัดประสบการณ์ต่อมาทำให้นักเรียนมีความสนใจใน กิจกรรมมากขึ้นและมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
1.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน     การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลข และการจับคู่  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 10-18 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ เช่น ไข่วิเศษ (การเปรียบเทียบ), หนูดีชอบดื่มนม (การเรียงลำดับ) พบว่า 
206 วารสารการวัดผลการศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

2.1 ผลการเรียนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 จากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้   
  2.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประจำแผนการจัดประสบการณ์ นักเรียน ส่วนใหญ่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ จะมีเพียงนักเรียนจำานวน 6 คน ที่ทำไม่ได้ในบางแบบฝึกทักษะ    
  2.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ประจำแผนการเรียนรู้ โดยผู้วิจัย และผู้ร่วมศึกษาทำการสังเกตและประเมินพฤติกรรม ของนักเรียนในขณะที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นและมีทักษะ ทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
2.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน    การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จนถึงระดับที่น่าพอใจ  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ให้ส่งบอร์ดปฏิทินและนำเสนอเกมคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมติวในการสอบ
สอบในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 15.00 - 17.00 น.



อาจารย์สรุปในการเรียนที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ปิดครอส

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การทำสื่อต่างๆ ดูความเหมาะสม ความประหยัด

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำบอร์ดปฏิทินที่ต้องทำเพิ่มเติม

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานกลุ่มตัวเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำเกมคณิตศาสตร์ว่าควรเพิ่มเติมอะไรบ้างเพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บรรยากาศการเรียน

      ทุกคนช่วยกันทำงานกลุ่มเพื่อส่งอาจารย์เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนในวันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยคนที่เขียนแผนที่วันเดียวกับเพื่อนให้ดูของเพื่อนเป็นตัวอย่าง เพราะแต่ละวันจะออกแนวกับสอนคล้ายๆกัน
- วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า เรื่องของชนิดกระเป๋า




- วันอังคาร กลุ่มบ้าน เรื่องของลักษณะบ้าน



- วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ เรื่องของการดูแลรักษายานพาหนะ



- วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย เรื่องประโยชน์ของกระต่าย




- วันศุกร์ กลุ่มเสื้อ เรื่องข้อพึงระวังของเสื้อ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเขียนแผนและจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำสื่อในการสอน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจสอนแผนของตัวเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ และแนะแนวทางในการสอนเด็กให้เข้าใจมากขึ้น

บรรยากาศการเรียน

      แต่ละกลุ่มก็ตั้งใจดูการสอนของเพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมไปด้วยดี

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้ครูเก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นครูก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเข้าใจในวิธีการสอน

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตอบคำถามอาจารย์ในสิ่งที่เราเข้าใจ

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ

บรรยากาศการเรียน

      สบายๆ เรียนเข้าใจ

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์พูดถึงเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง เช่น
• เกมจับคู่
  - ลักษณะ, รูปทรง, รูปร่าง, สี, ภาพเงา
• ต่อบล็อก
  - 2 มิติ, 3 มิติ
และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกันทำเกมการศึกษาโดย 1 เกม อาจทำ 1 คน, 2 คน, หรือ 3 คน แล้วแต่ความยากง่ายของเกมนั้นๆ  

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การทำเกมการศึกษาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ฟังที่อาจารย์อธิบายเกมการศึกษาเพื่อที่จะได้เข้าใจ

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา มีการซักถามในแต่ละเกม

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา ต้องใช้อุปกรณ์อะไรก็ให้บอกอาจารย์

บรรยากาศการเรียน

      อากาศเย็นทำให้เกิดอาการง่วง

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้แนวการจัดทำแผน
>สาระที่ที่ควรเรียนรู้
  - ประสบการณ์สำคัญ
  - สาระที่เรียนรู้ 
     - ธรรมชาติรอบตัว
     - สิ่งต่างๆรอบตัว
     - บุคคล สถานที่
     - ตัวเรา
>หัวเรื่อง มีเนื้อหาอะไรบ้าง
   - ลักษณะ?
   - เป็นอยู่อย่างไร รักษาได้ไหม
   - ประโยชน์ โทษ
   - ข้อควรระวัง
>การออกแบบ จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรรม
   - เคลื่อนไหวและจังหวะ
   - ศิลปะสร้างสรรค์
   - เสรี
   - เสริมประสบการณ์
   - กลางแจ้ง
   - เกมการศึกษา
>หลักการคิดเวลาเขียนแผน
  - เนื้อหา
  - จะต้องรู้ว่าจะนำมาสอนวันไหน
  - จะส่งให้เด็กต้องเรียนกิจกรรม 6 หลัก
  - สามารถเปลี่ยนหรือปรับแผนได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเขียนเเผน

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจอาจารย์อธิบายในการเขียนแผน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายในการเขียนแผน 

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามในการเขียนแผน เพราะจะได้เขียนได้

บรรยากาศการเรียน

      เงียบ

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้ทำบอร์ดทั้ง 7วัน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ทำบอร์ดเพื่อเช็คชื่อเด็กหรืออาจทำให้เด็กรู้เกี่ยวกับตัวเลขได้

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม ทำบอร์ด

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนช่วยกันทำบอร์ดของกลุ่มตัวเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ให้ทำบอร์ด พร้อมจัดเตรียมกระดาษและอุปกรณ์ให้

บรรยากาศการเรียน

      มีน้ำใจ ช่วยกันทำบอร์ด แบ่งอุปกรณ์กันยืม

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     รู้เรื่องมิติสัมพันธ์โดยการวาดรูปเลขาคณิตลงบนกระดาษและใช้ไม้กับดินน้ำมันมาทำตามแบบที่วาดไว้ จากนั้นนำของตัวเองมาทำมิติสัมพันธ์กับเพื่อนให้เป็นรูปทรง โดยการออกแบบจะต้องใช้หลักของ STEM โดยให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์ลงมือทำจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น
- แนวทางที่จะใช้กับเด็ก
  ให้เด็กนับ > สามารถแทนค่าได้โดยใช้เลขฮินดูอารบิก
  ให้เด็กได้คลายจากการอนุรักษ์



- อาจารย์บอกแนวการสอนของแต่ละหัวข้อในการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้แต่ละเรื่อง




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ให้เด็กได้สร้างสร้าง ประดิษฐ์ดินน้ำมันมาเป็นรูปต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่และต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนคิดทำรูปทรงให้เป็นมิติสัมพันธ์

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนช่วยกันออกแบบมิติสัมพันธ์ให้เป็นรูปทรงขึ้นมา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์สอนให้คำแนะนำในการออกแบบมิติสัมพันธ์โดยไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบเดิม ตอบข้อสงสัยให้กับนักศึกษา

บรรยากาศการเรียน

      แอร์เย็นไปหน่อย

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     อาจารย์สอนให้เห็นภาพชัดๆโดยใส่ลูกอมอยู่ในกระปุก ให้ดูว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น เรื่องการคาดคะเน ประมาณ คาดเดา การนับ จะเป็นเรื่องของมิติสัมพันธ์ ทำให้เด็กรู้จักเลขฐานสิบ วางลูกอมจากซ้ายไปขวาให้เหมือนกับการอ่านภาษาที่จะให้เด็กไม่สับสนกับการอ่านหนังสือในแบบของภาษาไทย การแทนค่าด้วยตัวเลขเมื่อรู้จำนวนนั้น(ใช้เลขมากำกับหรือปักตัวเลข)


                                        ใช้เกณฑ์การแบ่งสี และการอนุรักษ์ที่มีจำนวนเท่ากัน
                                         - มากกว่า - น้อยกว่า
                                         - น้อยกว่า - น้อยกว่าและมากกว่า - มากที่สุด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์กับของที่เห็นได้ชัด และจากหลายๆวิธีในการแบ่งกลุ่ม

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนช่วยกันออกความคิดเห็น และช่วยกันทำงานกลุ่มของตนเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์สอนให้เห็นถึงของง่ายๆอย่างเช่นลูกอม ก็สามารถนำมาให้เด็กเรียนรู้ได้

บรรยากาศการเรียน

      ร่วมกันทำงานกลุ่มของตนเอง ไม่เสียงดังรบกวนกลุ่มอื่น

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560 (หาเกมคณิตศาสตร์)


ชื่อเกมตัวเลขเเทนจำนวน

- อุปกรณ์ที่ใช้ทำ
   1. กระดาษ
   2. ขวดน้ำ
   3. ไม้ตะเกียบ
   4. กาว
   5. กรรไกร
   6. กระดาษลัง

- ลักษณะของสื่อ


















- ขั้นตอนการทำ
   1. หาภาพจาก Google
   2. เลือกภาพและเรียงภาพที่เหมือนกันภายในแผ่นให้มีจำนวนภาพตั้งแต่ 1-10 พร้อมปริ้นท์เลข 1-10
   3. ตัดตัวเลขกับแผ่นภาพทากาวและวางบนกระดาษลังเพื่อให้แข็งแรงมากขึ้น
   4. ใช้ขวดน้ำ 2 ขวด ติดกับหัวท้ายของตะเกียบ
   5. ทำพื้นรองใส่ภาพ และติดตัวเลขกับตะเกียบ

- เด็กได้พัฒนาการอะไรบ้าง
   1. รู้ค่าจำนวน 1-10
   2. ฝึกการนับ
   3. ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ให้ไปศึกษาดูนวัตกรรมของพี่ๆปี 5 ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อเราต้องอยู่ปี 5 ซึ่งก็จะมี
=> สื่อนวัตกรรมการสอน
      




=> Project Approach
      เรื่องที่นำมาเสนอก็คือ การทำไข่พระอาทิตย์ ซึ่งพี่ๆเขาก็จะอธิบายในการดำเนินงานต่างๆ และนอกจากนี้เพื่อให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้มากขึ้นจึงใช้หลักของ STEM เข้ามาด้วย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใชุ้

     เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อนที่จะจัดทำในตอนที่ตัวเองอยู่ปี 5 ได้

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     ฟังที่พี่ๆนำเสนอนวัตกรรมต่างๆเพื่อนให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆต่างก็ฟังในนวัตกรรมต่างๆอย่างตั้งใจ

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์สรุปนวัตกรรมของพี่ๆให้ฟังเพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

บรรยากาศการเรียน

      วันนี้ได้ศึกษาเรียนรู้นอกห้องก็เปลี่ยนบรรยากาศไปอีกแบบ อยู่ที่ตึกนวัตกรรมลมพัดเย็นสบาย

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     เรียนสาระที่ 3 (เรื่องตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเลขาคณิตสามมิติ สองมิติ) สาระที่ 4 (พีชคณิต เกี่ยวกับการเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์) สาระที่ 5 (การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น) สาระที่ 6 (ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์)                                               

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การสอนในหน่วยต่างๆ

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา และง่วงบ้าง

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟัง ไม่เสียงดัง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์สอนเข้าใจในรูปแบบต่างๆในการนับเลข ที่ใช้ในรูปแบบของตาราง และกราฟ

บรรยากาศการเรียน

      บรรยากาศดี

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้เรียนเรื่องความรู้เชิงคณิตศาสตร์ จะมีอยู่ 4 ประเภท คือ ความรู้ทางกายภาพ(เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตด้วยประสาทสัมผัส) ความรู้ทางสังคม(การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น) ความรู้ทางตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์(เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์) และความรู้เชิงสัญลักษณ์(แสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ มีความเข้าใจสิ่งนั้นอย่างชัดเจน) และเรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย คือ เด็กจะเรียนรู้อะไร เกณฑ์ที่จะประเมินคุณภาพของสิ่งนั้นๆคืออะไร                                        

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การจัดการเรียนรู้ให้เด็กตามมาตรฐานที่วางไว้

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ง่วงนอนเล็กน้อย

- ประเมินเพื่อน

     เพื่อนตั้งใจฟัง

- ประเมินอาจารย์

    ครูสอนในแต่ละหัวข้อ และอธิบายให้เข้าใจ

บรรยากาศการเรียน

     แอร์เย็น อุปกรณ์ในห้องไม่ค่อยอำนวยเท่าไหร่

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

      รู้ถึงความหมาย ความสำคัญ ที่ว่าด้วยการคำนวณ การคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ ประโยชน์ของวิชาคณิตจะต้องสามารนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะต้องจัดทักษะพื้นฐานที่ให้เด็กได้คิดและมีการพัฒนาความสามารถต่างๆได้ ได้ทำป้ายชื่อที่แปลกไปจากเดิม                                         

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     จะต้องสอนเด็กไปตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาช่วยเพื่อนออกความคิดเห็นในงานกลุ่ม

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนช่วยกันตอบคำถามให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม

- ประเมินอาจารย์

    ครูอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ที่ครูตั้ง อธิบายย้ำๆซ้ำๆจนนักศึกษาเข้าใจ

บรรยากาศการเรียน

     ทุกคนร่วมกันออกความคิดเห็น สนุกสนาน

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ของ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

     ในบทความนี้จะเน้นถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและจะต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็ก ที่จะต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส จากการสังเกตได้จับสิ่งของของจริง และธรรมชาติได้สร้างสมองที่เกี่ยวกับการรับรู้เชิงจำนวนไว้ 3 บริเวณ คือ
1) 2 ส่วนแรก คือสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา จะเกี่ยวกับ สัญลักษณ์ ตัวเลข การเทียบจำนวน
2) สมองซีกซ้าย จะเกี่ยวกับ การนับปากเปล่า การจำ การคำนวณ ได้ดีกว่า
โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จำทำงานร่วมกัน และการรับรู้เชิงจำนวนจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็กพัฒนาไปเรื่อยๆจนถึงวัยผู้ใหญ่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้ได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีด้านสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวก๊อตสกี้ ที่อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เหมือนๆกัน เช่น จากการให้เด็กลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และการร้องเพลงทางคณิตศาสตร์ เช่น เพลงขวดห้าใบ เท่ากัน-ไม่เท่ากัน บวก-ลบ                                                 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การร้องเพลงคณิตศาสตร์โดยให้เด็กๆช่วยร้องและคิดตามเพลง

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน 

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังและตอบคำถาม

- ประเมินอาจารย์

    ครูเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาส่วนไหน

บรรยากาศการเรียน

     มีความเงียบ ตั้งใจฟัง แต่ก็แอบง่วง

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้ได้มาสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการ การเล่นอีกครั้งให้กับเพื่อนคนที่ไม่ได้มาครั้งที่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน เริ่มเรียนในเพาเวอร์พ้อยท์กับประโยชน์ของพัฒนาการ ว่าพฤติกรรมความสามารถจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับอย่างต่อเนื่องของเด็ก ทำให้เรารู้ว่าเด็กมีความสามารถ และทฤษฎีด้านสติปัญญาตามแนวคิดเพียเจร์เกี่ยวกับขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล ที่ยังมีความเข้าใจในแบบของนามธรรม                                                  

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน ตอบคำถามพอได้บ้าง

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน 

- ประเมินอาจารย์

    อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการสอน ในการระดมความคิด การมีส่วนร่วม และการสังเคราะห์

บรรยากาศการเรียน

     มีความเงียบ ตั้งใจฟัง

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเข้าใจ ในวิชาคณิตศาสตร์ที่เด็กจะต้องเรียน พูดคุยในทักษะ เนื้อหา การวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นจากรายละเอียดต่างๆจนเกิดการสังเคราะห์ ได้พูดคุยเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก การที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยจะมีการประเมิน 3 แบบคือ สังเกต พูดคุย/สนทนา และตรวจสอบผลงาน                                                

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การรู้ว่าเด็กจะต้องเรียนอะไรในวิชาคณิตศาสตร์

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง

- ประเมินอาจารย์

    อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนวันแรกมาเป็นอย่างดี

บรรยากาศการเรียน

     ช่วยกันหาข้อสรุปของความหมายความสำคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น