วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัยทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ความมุ่งหมายของการวิจัย 
     เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติ การวงจรลำดับเวลา

วิธีการดำาเนินการวิจัย 
     กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย  กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
2. แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำานวน 18 แผน    
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์     
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด    
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย     
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย  
     ผู้วิจัยดำเนินการปฏิบัติการ 2 วงจรตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาของ
เจมส์ แมคเคอร์แนน  (McKernan.  1996 : 28-30 ) แต่ละวงจรดำเนินการ 8 ขั้นตอน ดังนี้     
1. ขั้นกำหนดปัญหา ระบุปัญหา  คือ  “นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับ  การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่” โดยใช้ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย   
2. ขั้นประเมินความต้องการจำเป็น โดยใช้ประเมินความความต้องการจำเป็นของครูและผู้ปกครอง   
3. กำหนดแนวคิดที่เป็นสมมุติฐาน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก ขั้นตอนการประเมินความต้องการจำเป็น   
4. ขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติการ โดยศึกษาข้อมูลการจัดเรียงลาำดับความสำาคัญของความต้องการ จำาเป็นในขั้นตอนการประเมินความต้องการ จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลสร้างแผนจัดประสบการณ์   
5. ขั้นดำเนินการตามแผนการที่วางไว้ โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์นิทานคณิตศาสตร์ จำนวน  18 แผน แบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์ แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะ ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
6. ขั้นประเมินผลการปฏิบัติการตามแผน โดยใช้ผลแบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์  แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
7. ขั้นสะท้อนผล ทำความเข้าใจ อธิบาย โดยการศึกษาข้อมูลย้อนกลับและตรวจสอบผลการปฏิบัติ การหาข้อสรุป   
8. ขั้นตัดสินใจเพื่อดำเนินการในวงจรลำดับเวลาต่อไป
ผลการวิจัย 

  1. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 1-9 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์  เช่น มังคุดของหนูหน่อย (การนับ), หนอนจอมหิว (การรู้ค่าตัวเลข), ลูกไก่ ตามหาแม่ (การจับคู่) พบว่า   
1.1 ผลจากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้    
   1.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตรป์ระจำแผนการจัดประสบการณนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ แต่เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ในเรื่องการนับและรู้ค่าตัวเลขมากขึ้นจึงทำให้เด็กสามารถทำแบบฝึกทักษะได้ดีขึ้น  
   1.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า ในช่วงแผนการจัดประสบการณ์ที่ 1-2 นักเรียนส่วนใหญ่ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้น เนื่องจากครูผู้สอนมีอาการประหม่าและตื่นเต้นทำให้การจัดประสบการณ์ ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร แต่ครูผู้สอนปรับตัวได้ในแผนการจัดประสบการณ์ต่อมาทำให้นักเรียนมีความสนใจใน กิจกรรมมากขึ้นและมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
1.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน     การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลข และการจับคู่  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 10-18 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ เช่น ไข่วิเศษ (การเปรียบเทียบ), หนูดีชอบดื่มนม (การเรียงลำดับ) พบว่า 
206 วารสารการวัดผลการศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

2.1 ผลการเรียนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 จากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้   
  2.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประจำแผนการจัดประสบการณ์ นักเรียน ส่วนใหญ่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ จะมีเพียงนักเรียนจำานวน 6 คน ที่ทำไม่ได้ในบางแบบฝึกทักษะ    
  2.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ประจำแผนการเรียนรู้ โดยผู้วิจัย และผู้ร่วมศึกษาทำการสังเกตและประเมินพฤติกรรม ของนักเรียนในขณะที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นและมีทักษะ ทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
2.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน    การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จนถึงระดับที่น่าพอใจ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น