วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

      รู้ถึงความหมาย ความสำคัญ ที่ว่าด้วยการคำนวณ การคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ ประโยชน์ของวิชาคณิตจะต้องสามารนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะต้องจัดทักษะพื้นฐานที่ให้เด็กได้คิดและมีการพัฒนาความสามารถต่างๆได้ ได้ทำป้ายชื่อที่แปลกไปจากเดิม                                         

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     จะต้องสอนเด็กไปตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาช่วยเพื่อนออกความคิดเห็นในงานกลุ่ม

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนช่วยกันตอบคำถามให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม

- ประเมินอาจารย์

    ครูอธิบายเกี่ยวกับโจทย์ที่ครูตั้ง อธิบายย้ำๆซ้ำๆจนนักศึกษาเข้าใจ

บรรยากาศการเรียน

     ทุกคนร่วมกันออกความคิดเห็น สนุกสนาน

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ของ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

     ในบทความนี้จะเน้นถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและจะต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็ก ที่จะต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส จากการสังเกตได้จับสิ่งของของจริง และธรรมชาติได้สร้างสมองที่เกี่ยวกับการรับรู้เชิงจำนวนไว้ 3 บริเวณ คือ
1) 2 ส่วนแรก คือสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา จะเกี่ยวกับ สัญลักษณ์ ตัวเลข การเทียบจำนวน
2) สมองซีกซ้าย จะเกี่ยวกับ การนับปากเปล่า การจำ การคำนวณ ได้ดีกว่า
โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จำทำงานร่วมกัน และการรับรู้เชิงจำนวนจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็กพัฒนาไปเรื่อยๆจนถึงวัยผู้ใหญ่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้ได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีด้านสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวก๊อตสกี้ ที่อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เหมือนๆกัน เช่น จากการให้เด็กลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และการร้องเพลงทางคณิตศาสตร์ เช่น เพลงขวดห้าใบ เท่ากัน-ไม่เท่ากัน บวก-ลบ                                                 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การร้องเพลงคณิตศาสตร์โดยให้เด็กๆช่วยร้องและคิดตามเพลง

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน 

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังและตอบคำถาม

- ประเมินอาจารย์

    ครูเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาส่วนไหน

บรรยากาศการเรียน

     มีความเงียบ ตั้งใจฟัง แต่ก็แอบง่วง

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้ได้มาสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการ การเล่นอีกครั้งให้กับเพื่อนคนที่ไม่ได้มาครั้งที่แล้วให้มีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน เริ่มเรียนในเพาเวอร์พ้อยท์กับประโยชน์ของพัฒนาการ ว่าพฤติกรรมความสามารถจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับอย่างต่อเนื่องของเด็ก ทำให้เรารู้ว่าเด็กมีความสามารถ และทฤษฎีด้านสติปัญญาตามแนวคิดเพียเจร์เกี่ยวกับขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล ที่ยังมีความเข้าใจในแบบของนามธรรม                                                  

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน ตอบคำถามพอได้บ้าง

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน 

- ประเมินอาจารย์

    อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการสอน ในการระดมความคิด การมีส่วนร่วม และการสังเคราะห์

บรรยากาศการเรียน

     มีความเงียบ ตั้งใจฟัง

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเข้าใจ ในวิชาคณิตศาสตร์ที่เด็กจะต้องเรียน พูดคุยในทักษะ เนื้อหา การวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นจากรายละเอียดต่างๆจนเกิดการสังเคราะห์ ได้พูดคุยเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก การที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยจะมีการประเมิน 3 แบบคือ สังเกต พูดคุย/สนทนา และตรวจสอบผลงาน                                                

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การรู้ว่าเด็กจะต้องเรียนอะไรในวิชาคณิตศาสตร์

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังเนื้อหาวิชาที่จะต้องเรียน ไม่พูดคุยเสียงดัง

- ประเมินอาจารย์

    อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนวันแรกมาเป็นอย่างดี

บรรยากาศการเรียน

     ช่วยกันหาข้อสรุปของความหมายความสำคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น