วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปวีดิโอสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     สิงคโปร์จะร่างหลักสูตรโดยนำสัญลักษณ์มาแทนสิ่งที่เรียนรู้ ที่ให้เด็กได้สัมผัสของจริงก่อนจากการนับเลข เช่น ตัวบล็อกนำมาหยิบจับ บวก ลบ คูณ หาร จากนั้นจะให้เด็กวาดภาพตามจำนวน แล้วนำมาสู่การแทนด้วยสัญลักษณ์ เด็กๆก็จะได้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เ็กๆก็จะเกิดความเข้าใจ ตีโจทย์แตก พอเมื่อได้รับการจับต้องได้แล้วจะต้องใช้หลายๆสูตรไม่เช่นนั้นจะทำให้เด็กยึดติด
สรุปวิจัยทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ความมุ่งหมายของการวิจัย 
     เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติ การวงจรลำดับเวลา

วิธีการดำาเนินการวิจัย 
     กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย  กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
2. แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย    
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำานวน 18 แผน    
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์     
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด    
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย     
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย  
     ผู้วิจัยดำเนินการปฏิบัติการ 2 วงจรตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาของ
เจมส์ แมคเคอร์แนน  (McKernan.  1996 : 28-30 ) แต่ละวงจรดำเนินการ 8 ขั้นตอน ดังนี้     
1. ขั้นกำหนดปัญหา ระบุปัญหา  คือ  “นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องการนับ  การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่” โดยใช้ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย   
2. ขั้นประเมินความต้องการจำเป็น โดยใช้ประเมินความความต้องการจำเป็นของครูและผู้ปกครอง   
3. กำหนดแนวคิดที่เป็นสมมุติฐาน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก ขั้นตอนการประเมินความต้องการจำเป็น   
4. ขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติการ โดยศึกษาข้อมูลการจัดเรียงลาำดับความสำาคัญของความต้องการ จำาเป็นในขั้นตอนการประเมินความต้องการ จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลสร้างแผนจัดประสบการณ์   
5. ขั้นดำเนินการตามแผนการที่วางไว้ โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์นิทานคณิตศาสตร์ จำนวน  18 แผน แบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์ แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะ ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
6. ขั้นประเมินผลการปฏิบัติการตามแผน โดยใช้ผลแบบบันทึกแผนการจัดประสบการณ์  แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
7. ขั้นสะท้อนผล ทำความเข้าใจ อธิบาย โดยการศึกษาข้อมูลย้อนกลับและตรวจสอบผลการปฏิบัติ การหาข้อสรุป   
8. ขั้นตัดสินใจเพื่อดำเนินการในวงจรลำดับเวลาต่อไป
ผลการวิจัย 

  1. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 1 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 1-9 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์  เช่น มังคุดของหนูหน่อย (การนับ), หนอนจอมหิว (การรู้ค่าตัวเลข), ลูกไก่ ตามหาแม่ (การจับคู่) พบว่า   
1.1 ผลจากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้    
   1.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตรป์ระจำแผนการจัดประสบการณนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ แต่เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ในเรื่องการนับและรู้ค่าตัวเลขมากขึ้นจึงทำให้เด็กสามารถทำแบบฝึกทักษะได้ดีขึ้น  
   1.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า ในช่วงแผนการจัดประสบการณ์ที่ 1-2 นักเรียนส่วนใหญ่ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้น เนื่องจากครูผู้สอนมีอาการประหม่าและตื่นเต้นทำให้การจัดประสบการณ์ ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร แต่ครูผู้สอนปรับตัวได้ในแผนการจัดประสบการณ์ต่อมาทำให้นักเรียนมีความสนใจใน กิจกรรมมากขึ้นและมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
1.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน     การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลข และการจับคู่  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2    ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำดับเวลาที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แผนที่ 10-18 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ เช่น ไข่วิเศษ (การเปรียบเทียบ), หนูดีชอบดื่มนม (การเรียงลำดับ) พบว่า 
206 วารสารการวัดผลการศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2555 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

2.1 ผลการเรียนทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 จากการใช้กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา ตามแนวคิดของเจมส์แมคเคอร์แนน (James McKernan) ดังนี้   
  2.1.1 ผลการตรวจแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประจำแผนการจัดประสบการณ์ นักเรียน ส่วนใหญ่สามารถทำแบบฝึกทักษะได้ จะมีเพียงนักเรียนจำานวน 6 คน ที่ทำไม่ได้ในบางแบบฝึกทักษะ    
  2.1.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ประจำแผนการเรียนรู้ โดยผู้วิจัย และผู้ร่วมศึกษาทำการสังเกตและประเมินพฤติกรรม ของนักเรียนในขณะที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยแบบประเมินพฤติกรรมทักษะคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นและมีทักษะ ทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น   
2.2  ผลการประเมินความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน    การประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ  พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จนถึงระดับที่น่าพอใจ  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ให้ส่งบอร์ดปฏิทินและนำเสนอเกมคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมติวในการสอบ
สอบในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 15.00 - 17.00 น.



อาจารย์สรุปในการเรียนที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ปิดครอส

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การทำสื่อต่างๆ ดูความเหมาะสม ความประหยัด

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำบอร์ดปฏิทินที่ต้องทำเพิ่มเติม

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานกลุ่มตัวเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำเกมคณิตศาสตร์ว่าควรเพิ่มเติมอะไรบ้างเพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บรรยากาศการเรียน

      ทุกคนช่วยกันทำงานกลุ่มเพื่อส่งอาจารย์เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนในวันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยคนที่เขียนแผนที่วันเดียวกับเพื่อนให้ดูของเพื่อนเป็นตัวอย่าง เพราะแต่ละวันจะออกแนวกับสอนคล้ายๆกัน
- วันจันทร์ กลุ่มกระเป๋า เรื่องของชนิดกระเป๋า




- วันอังคาร กลุ่มบ้าน เรื่องของลักษณะบ้าน



- วันพุธ กลุ่มยานพาหนะ เรื่องของการดูแลรักษายานพาหนะ



- วันพฤหัสบดี กลุ่มกระต่าย เรื่องประโยชน์ของกระต่าย




- วันศุกร์ กลุ่มเสื้อ เรื่องข้อพึงระวังของเสื้อ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเขียนแผนและจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนทำสื่อในการสอน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจสอนแผนของตัวเอง

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ และแนะแนวทางในการสอนเด็กให้เข้าใจมากขึ้น

บรรยากาศการเรียน

      แต่ละกลุ่มก็ตั้งใจดูการสอนของเพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมไปด้วยดี

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้ครูเก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นครูก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเข้าใจในวิธีการสอน

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตอบคำถามอาจารย์ในสิ่งที่เราเข้าใจ

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยในวิธีการสอนและอื่นๆ

บรรยากาศการเรียน

      สบายๆ เรียนเข้าใจ

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์พูดถึงเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง เช่น
• เกมจับคู่
  - ลักษณะ, รูปทรง, รูปร่าง, สี, ภาพเงา
• ต่อบล็อก
  - 2 มิติ, 3 มิติ
และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกันทำเกมการศึกษาโดย 1 เกม อาจทำ 1 คน, 2 คน, หรือ 3 คน แล้วแต่ความยากง่ายของเกมนั้นๆ  

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การทำเกมการศึกษาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ฟังที่อาจารย์อธิบายเกมการศึกษาเพื่อที่จะได้เข้าใจ

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา มีการซักถามในแต่ละเกม

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำเกมการศึกษา ต้องใช้อุปกรณ์อะไรก็ให้บอกอาจารย์

บรรยากาศการเรียน

      อากาศเย็นทำให้เกิดอาการง่วง

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้แนวการจัดทำแผน
>สาระที่ที่ควรเรียนรู้
  - ประสบการณ์สำคัญ
  - สาระที่เรียนรู้ 
     - ธรรมชาติรอบตัว
     - สิ่งต่างๆรอบตัว
     - บุคคล สถานที่
     - ตัวเรา
>หัวเรื่อง มีเนื้อหาอะไรบ้าง
   - ลักษณะ?
   - เป็นอยู่อย่างไร รักษาได้ไหม
   - ประโยชน์ โทษ
   - ข้อควรระวัง
>การออกแบบ จัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรรม
   - เคลื่อนไหวและจังหวะ
   - ศิลปะสร้างสรรค์
   - เสรี
   - เสริมประสบการณ์
   - กลางแจ้ง
   - เกมการศึกษา
>หลักการคิดเวลาเขียนแผน
  - เนื้อหา
  - จะต้องรู้ว่าจะนำมาสอนวันไหน
  - จะส่งให้เด็กต้องเรียนกิจกรรม 6 หลัก
  - สามารถเปลี่ยนหรือปรับแผนได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     การเขียนเเผน

การประเมินผล

- ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจอาจารย์อธิบายในการเขียนแผน

- ประเมินเพื่อน

    เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายในการเขียนแผน 

- ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เปิดโอกาสให้ถามในการเขียนแผน เพราะจะได้เขียนได้

บรรยากาศการเรียน

      เงียบ